เมนู

10. ปริหานสูตร


ว่าด้วยธรรม 3 ประการเป็นไปเพื่อความเสื่อม


[257] จริงอยู่ พระสูตรนี้พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้ว พระสูตรนี้
พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เป็นพระอรหันต์ตรัสแล้ว เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้าได้
สดับมาแล้วว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรม 3 ประการนี้ ย่อมเป็นไปเพื่อ
ความเสื่อมแก่ภิกษุผู้เสขะ 3 ประการเป็นไฉน ? ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้
เสขะในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีการงานเป็นที่มายินดี ยินดีในการงาน ขวนขวาย
ในความเป็นผู้มีการงานเป็นที่มายินดี 1 เป็นผู้ขอบคุย ยินดีในการคุย
ขวนขวายในความเป็นผู้ขอบคุย 1 เป็นผู้ชอบหลับ ยินดีในการหลับ ขวนขวาย
ในความเป็นผู้ชอบหลับ 1 ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรม 3 ประการนี้แล ย่อม
เป็นไปเพื่อความเสื่อมแก่ภิกษุผู้เสขะ.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรม 3 ประการนี้ ย่อมเป็นไปเพื่อความไม่
เสื่อมแก่ภิกษุผู้เสขะ 3 ประการเป็นไฉน ? ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้เสขะ
ในธรรมวินัยนี้ ไม่เป็นผู้มีการงานเป็นที่มายินดี ไม่ยินดีในการงาน ไม่
ขวนขวายในความเป็นผู้มีการงานเป็นที่มายินดี 1 ไม่ชอบคุย ไม่ยินดีในการ
คุย ไม่ขวนขวายในความเป็นผู้ขอบคุย 1 ไม่ชอบหลับ ไม่ยินดีในการหลับ
ไม่ขวนขวายในความเป็นผู้ชอนหลับ 1 ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรม 3 ประการ
นี้แล ย่อมเป็นไปเพื่อความไม่เสื่อมแก่ภิกษุผู้เสขะ.
พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสเนื้อความนี้แล้ว ในพระสูตรนั้น พระ-
ผู้มีพระภาคเจ้า
ตรัสคาถาประพันธ์ดังนี้ว่า

ภิกษุผู้มีการงานเป็นที่มายินดี ยินดี
ในการคุย ชอบหลับและฟุ้งซ่าน ผู้เช่นนั้น
ไม่ควรเพื่อบรรลุสัมโพธิญาณอันสูงสุด
เพราะเหตุนั้นแล ภิกษุพึงเป็นผู้มีกิจน้อย
เว้นจากความหลับไม่ฟุ้งซ่าน ภิกษุผู้เช่น-
นั้นควรเพื่อบรรลุสัมโพธิญาณอันสูงสุด

เนื้อความแม้นี้พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้ว เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้า
ได้สดับมาแล้ว ฉะนี้แล.
จบปริหานสูตรที่ 10
จบวรรคที่ 3

อรรถกถาปริหานสูตร


ในปริหานสูตรที่ 10 พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-
บทว่า ปริหานาย สํวตฺตนฺติ ความว่า ย่อมมีเพื่อความไม่เจริญ
คือมีเพื่อเป็นอันตรายต่อการบรรลุมรรค. แต่ขึ้นชื่อว่ามรรคที่ได้บรรลุแล้ว
เสื่อมไม่มี. พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อจะทรงจำแนกธรรมที่ทรงยกขึ้นแสดง
ด้วยสามารถแห่งธรรมาธิษฐานว่า ธรรม 3 อย่างดังนี้ ด้วยเทศนาที่เป็นบุคลา-
ธิษฐาน จึงตรัสคำมีอาทิว่า อิธ ภิกฺขเว เสโข ภิกฺขุ ดังนี้.
ใน 3 อย่างนั้น ภิกษุชื่อว่า กัมมารามะ เพราะมีการงานเป็นที่มา
ยินดี เพราะต้องเพลิดเพลินอยู่กับ (การงาน). ชื่อว่า กมฺมรโต เพราะ